วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2558

เฉลยตัวอย่างข้อสอบ O-NET คอมพิวเตอร์ ม.6

* ตัวอักษรสีเเดง คือ คำตอบที่ถูกต้อง

1.ข้อใดไม่ใช่ระบบปฏิบัติการที่นำมาใช้บนอุปกรณ์พกพา
ประเภท  Smartphone
1.  Ubumtu       2.  Iphone  os
3.  Android      4.  Symbian


2.ไฟล์ประเภทใดในข้อต่อไปนี้เก็บข้อมูลในลักษณะตัวอักษร
1.  ไฟล์เพลง  MP 3 (mp 3)
2.  ไฟล์รูปประเภท  JPEG (jpeg)
3.  ไฟล์แสดงผลหน้าเว็บ (html)
4.  ไฟล์วีดีโอประเภท  Movie (movie)

3.ลิขสิทธิ์โปรแกรมประเภทรหัสเปิด(Open Source)อนุญาต
ให้ผู้ใช้ทำอะไรได้บ้าง
ก.  นำโปรแกรมมาใช้งานโดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์
ข.  ทดลองใช้โปรแกรมก่อนถ้าพอใจจึงจ่ายค่าลิขสิทธิ์
ค.  แก้ไขปรับปรุงโปรแกรมเองได้
1.  ข้อ  ก กับ  ข้อ  ค      2.  ข้อ  ข  กับ  ข้อ  ค
3.  ข้อ  ข  อย่างเดียว     4.  ข้อ  ก  อย่างเดียว

4.ระบบกระดานสนทนาหรือเว็บบอร์ดแห่งหนึ่งมีความต้องการดังนี้
ก.  ต้องให้ผู้ใช้สามารถตั้งกระทู้โต้ตอบกันได้โดยผู้ใช้
ต้องแสดงตัวตน(ล็อกอิน)เพื่อเข้าระบบก่อน
ข.  ผู้ใช้สามารถตั้งกระทู้หรือเข้าไปตอบกระทู้ที่ตั้งไว้แล้วได้
ค.  ระบบจะบันทึกชื่อผู้ตั้งและผู้ตอบไว้ด้วย
ในการออกแบบฐานข้อมูลดังกล่าวข้อใดกล่าวได้ถูกต้อง
1.  ต้องสร้างตารางผู้ใช้ ตารางกระทู้และตารางคำตอบ
2.  ไม่ต้องสร้างตารางผู้ใช้เนื่องจากสามารถบันทึกชื่อ
ผู้ใช้ในตารางกระทู้และตารางคำตอบได้เลย
3.  ต้องสร้างตารางผู้ใช้และตารางกระทู้ส่วนคำตอบจะอยู่
ในตารางกระทู้อยู่แล้ว
4.  ไม่ต้องสร้างตารางกระทู้เพราะสามารถบันทึกกระทู้ที่ผู้ใช้
ตั้งในตารางผู้ใช้ได้เลย

5.ห้องสมุดแห่งหนึ่งต้องการพัมนาระบบยืมหนังสือโดยสามารถ
บันทึกข้อมูลการยืมหนังสือลงบนบัตรอิเลคโทรนิกส์โดยไม่ต้อง
เขียนด้วยมือระบบนี้ควรใช้เทคโนโลยีในข้อใด.
1.  Smart  Card          2.  Fingerprint
3.  Barcode                 4.  WiFi

6.ผู้ประกอบอาชีพเป็นผู้พัฒนาเว็บไซต์ต้องเชี่ยวชาญความรู้
ด้านใดบ้างจากตัวเลือกต่อไปนี้.
ก.  ฮาร์แวร์คอมพิวเตอร์       ข.  ระบบปฎิบัติการ
ค.  เว็บเซิร์ฟเวอร์                   ง.  HTML
จ.  ระบบฐานข้อมูล                ฉ.  ภาษาจาวา(Java)
1.  ข้อ  ก และ ค                    2.  ข้อ  ข  และ  จ
3.  ข้อ  ค  และ  ง                   4.  ข้อ  ค  และ  ฉ

7.ข้อใดเป็นเทคโนโลยีการเชื่อมต่อข้อมูลไร้สายทั้งหมด.
1.  Wi-Fi  ,  IP              2.  Wi-Fi  ,Bluetooth
3.  3G  ADSL                4.  3G    Ethernet

8.ข้อใดไม่ใช่ข้อเสียของการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์.
1.  การทำผิดกฏหมายลิขสิทธิ์มีความผิดทางอาญา
2.  เป็นช่องทางหนึ่งในการระบาดของไวรัสคอมพิวเตอร์
3.  ผู้ใช้จะไม่ได้รับการบริการจากผู้พัมนาถ้าหากมีปัญหาการใช้งาน
4.  ทำให้ผู้พัมนาซอฟแวร์ไม่มีรายได้เพื่อประกอบการและพัฒนาต่อไปได้

9.ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้องที่สุด.
1.  การบันทึกข้อมูลลงแผ่นดีวีดีใช้เทคโนโลยีแบบแม่เหล็ก
2.  หมายเลขไอพีเป็นหมายเลขที่ใช้กำกับ  Network Interce Card
3.  หน่วยความจำสำรองเป็นหน่วยความจำที่มีคุณลักษณะแบบ Volntile
4.  รหัส ACIIและEBCIDICเป็นการวางรหัสตัวอักษรที่ใช้ขนาด  8 บิด

10.ข้อใดเป้นการปฏิบัติที่ถูกต้องตามหลักวิชาการเมื่อค้นคว้า
หาข้อมูลจากอินเทอร์เนตมาทำรายงาน.
1.  คัดลอกเนื้อหาจากเว็บไซต์
2.  ใช้เนื้อหาจากกระดานสนทนา(Web board)มาใส่ในรายงาน
3.  นำรูปภาพจากเว็บไซต์มาใส่ในรายงาน
4.  อ้างอิงชื่อผู้เขียนบทความ

ตัวอย่างข้อสอบ O-NET คอมพิวเตอร์ ม.6

1.ข้อใดไม่ใช่ระบบปฏิบัติการที่นำมาใช้บนอุปกรณ์พกพา
ประเภท  Smartphone
1.  Ubumtu       2.  Iphone  os
3.  Android      4.  Symbian

2.ไฟล์ประเภทใดในข้อต่อไปนี้เก็บข้อมูลในลักษณะตัวอักษร
1.  ไฟล์เพลง  MP 3 (mp 3)
2.  ไฟล์รูปประเภท  JPEG (jpeg)
3.  ไฟล์แสดงผลหน้าเว็บ (html)
4.  ไฟล์วีดีโอประเภท  Movie (movie)

3.ลิขสิทธิ์โปรแกรมประเภทรหัสเปิด(Open Source)อนุญาต
ให้ผู้ใช้ทำอะไรได้บ้าง
ก.  นำโปรแกรมมาใช้งานโดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์
ข.  ทดลองใช้โปรแกรมก่อนถ้าพอใจจึงจ่ายค่าลิขสิทธิ์
ค.  แก้ไขปรับปรุงโปรแกรมเองได้
1.  ข้อ  ก กับ  ข้อ  ค      2.  ข้อ  ข  กับ  ข้อ  ค
3.  ข้อ  ข  อย่างเดียว     4.  ข้อ  ก  อย่างเดียว

4.ระบบกระดานสนทนาหรือเว็บบอร์ดแห่งหนึ่งมีความต้องการดังนี้
ก.  ต้องให้ผู้ใช้สามารถตั้งกระทู้โต้ตอบกันได้โดยผู้ใช้
ต้องแสดงตัวตน(ล็อกอิน)เพื่อเข้าระบบก่อน
ข.  ผู้ใช้สามารถตั้งกระทู้หรือเข้าไปตอบกระทู้ที่ตั้งไว้แล้วได้
ค.  ระบบจะบันทึกชื่อผู้ตั้งและผู้ตอบไว้ด้วย
ในการออกแบบฐานข้อมูลดังกล่าวข้อใดกล่าวได้ถูกต้อง
1.  ต้องสร้างตารางผู้ใช้ ตารางกระทู้และตารางคำตอบ
2.  ไม่ต้องสร้างตารางผู้ใช้เนื่องจากสามารถบันทึกชื่อ
ผู้ใช้ในตารางกระทู้และตารางคำตอบได้เลย
3.  ต้องสร้างตารางผู้ใช้และตารางกระทู้ส่วนคำตอบจะอยู่
ในตารางกระทู้อยู่แล้ว
4.  ไม่ต้องสร้างตารางกระทู้เพราะสามารถบันทึกกระทู้ที่ผู้ใช้
ตั้งในตารางผู้ใช้ได้เลย

5.ห้องสมุดแห่งหนึ่งต้องการพัมนาระบบยืมหนังสือโดยสามารถ
บันทึกข้อมูลการยืมหนังสือลงบนบัตรอิเลคโทรนิกส์โดยไม่ต้อง
เขียนด้วยมือระบบนี้ควรใช้เทคโนโลยีในข้อใด.
1.  Smart  Card          2.  Fingerprint
3.  Barcode                 4.  WiFi

6.ผู้ประกอบอาชีพเป็นผู้พัฒนาเว็บไซต์ต้องเชี่ยวชาญความรู้
ด้านใดบ้างจากตัวเลือกต่อไปนี้.
ก.  ฮาร์แวร์คอมพิวเตอร์       ข.  ระบบปฎิบัติการ
ค.  เว็บเซิร์ฟเวอร์                   ง.  HTML
จ.  ระบบฐานข้อมูล                ฉ.  ภาษาจาวา(Java)
1.  ข้อ  ก และ ค                    2.  ข้อ  ข  และ  จ
3.  ข้อ  ค  และ  ง                   4.  ข้อ  ค  และ  ฉ

7.ข้อใดเป็นเทคโนโลยีการเชื่อมต่อข้อมูลไร้สายทั้งหมด.
1.  Wi-Fi  ,  IP              2.  Wi-Fi  ,Bluetooth
3.  3G  ADSL                4.  3G    Ethernet

8.ข้อใดไม่ใช่ข้อเสียของการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์.
1.  การทำผิดกฏหมายลิขสิทธิ์มีความผิดทางอาญา
2.  เป็นช่องทางหนึ่งในการระบาดของไวรัสคอมพิวเตอร์
3.  ผู้ใช้จะไม่ได้รับการบริการจากผู้พัมนาถ้าหากมีปัญหาการใช้งาน
4.  ทำให้ผู้พัมนาซอฟแวร์ไม่มีรายได้เพื่อประกอบการและพัฒนาต่อไปได้

9.ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้องที่สุด.
1.  การบันทึกข้อมูลลงแผ่นดีวีดีใช้เทคโนโลยีแบบแม่เหล็ก
2.  หมายเลขไอพีเป็นหมายเลขที่ใช้กำกับ  Network Interce Card
3.  หน่วยความจำสำรองเป็นหน่วยความจำที่มีคุณลักษณะแบบ Volntile
4.  รหัส ACIIและEBCIDICเป็นการวางรหัสตัวอักษรที่ใช้ขนาด  8 บิด

10.ข้อใดเป้นการปฏิบัติที่ถูกต้องตามหลักวิชาการเมื่อค้นคว้า
หาข้อมูลจากอินเทอร์เนตมาทำรายงาน.
1.  คัดลอกเนื้อหาจากเว็บไซต์
2.  ใช้เนื้อหาจากกระดานสนทนา(Web board)มาใส่ในรายงาน
3.  นำรูปภาพจากเว็บไซต์มาใส่ในรายงาน
4.  อ้างอิงชื่อผู้เขียนบทความ

ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์

1. ความสะดวกในการแบ่งปันข้อมูล ปัจจุบันมีข้อมูลจำนวนมากสามารถถูกส่งผ่านเครือข่ายการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว เช่น การส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายโทรศัพท์ระบบ ดีเอสแอล ( Digital Subscriber Line DSL ) ถ้าส่งด้วยอัตราเร็ว 2 Mbps หรือประมาณ 256 kB/s จะส่งข้อมูลจำนวน 200หน้าได้ในเวลาน้อยกว่า 10 วินาที 

2. ความถูกต้องของข้อมูล การรับส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายการสื่อสารเป็นการส่งแบบดิจิทัล ซึ่งระบบการสื่อสารจะมีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ส่ง และแก้ไขข้อมูลที่ผิดพลาดให้ถูกต้องได้โดยอัตโนมัติ ดังนั้น การสื่อสารข้อมูลจึงมีความเชื่อถือสูง 

3. ความเร็วในการรับส่งข้อมูล การใช้คอมพิวเตอร์ในการส่งข้อมูล หรือ ค้นคว้าข้อมูลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ทำได้รวดเร็ว เนื่องจากสัญญาณทางไฟฟ้าเดินทางด้วยความเร็วใกล้เคียงความเร็วแสง เช่น การดูภาพยนตร์ หรือรายการโทรทัศน์ผ่านอินเทอร์เน็ต การตรวจสอบหรือการจองที่นั่งของสายการบินสามารถทำได้ทันที 

4. การประหยัดค่าใช้จ่ายในการสื่อสารข้อมูล การรับและส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายการสื่อสารสามารถทำได้ในราคาถูกกว่าการสื่อสารแบบอื่น เช่น การใช้งานโทรศัพท์โดยผ่านอินเทอร์เน็ตหรือที่เรียกว่า วอยซ์โอเวอร์ไอพี ( Voice over IP : VoIP ) จะมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าการใช้งานโทรศัพท์โดยผ่านระบบโทรศัพท์พื้นฐาน หรือการใช้อีเมลส่งข้องมูลหรือเอกสารในรูปแบบอีเล็กทรอนิกส์จะมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่า และรวดเร็วกว่าการส่งเอกสารแบบวิธีอื่น 

5. ความสะดวกในการแบ่งปันทรัพยากร ในองค์กรสามารถใช้อุปกรณ์สารสนเทศร่วมกันได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายติดตั้งอุปกรณ์ให้กับทุกเครื่อง เช่น เครื่องพิมพ์ นอกจากนี้ยังสามารถให้โปรแกรมและข้อมูลร่วมกันได้ โดยจัดเก็บโปรแกรมและข้อมูลเหล่านั้นไว้ที่แหล่งเก็บข้อมูลที่เป็นศูนย์กลาง เช่น เครื่องบริการไฟล์ ( file server ) เป็นต้น 

6. ความสะดวกในการประสารงาน ในองค์กรที่มีหน่วยงานย่อยหลายแห่งที่อยู่ห่างไกลกันสามารถทำงานประสานกันผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เช่น การประชุมทางไกล และการแก้ไขเอกสารร่วมกันผ่านระบบเครือข่าย 

7. ขยายบริการองค์กร เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้องค์กรสามารถกระจายทำการไปตามจุดต่างๆ ที่ต้องการให้บริการ เช่น ธนาคารที่มีสาขาทั่วประเทศ สามารถถอนเงินได้จากตู้เอทีเอ็ม หรือฝากเงินได้ตามตู้เอทีเอ็ม เป็นต้น 

8. การสร้างบริการรูปแบบใหม่บนเครือข่าย การให้บริการต่างๆ ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าใช้บริการได้ทุกที่ทุกเวลา เช่น การซื้อสินค้าผ่านร้านค้าออนไลน์ ซึ่งเป็นบริการแบบหนึ่งของพาณิชย์อิเล็กทรอนิคส์ ( e – commerce ) และการรับชำระสินค้า ค่าสาธารณูปโภคผ่านจุดรับชำระแบบออนไลน์ ที่เรียกว่าเคาน์เตอร์เซอร์วิส ( counter service )

โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Topology)

   การนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อกันเพื่อประโยชน์ของการสื่อสารนั้น สามารถกระทำได้หลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละแบบก็มีจุดเด่นที่แตกต่างกันไป โดยทึ่วไปแล้วโครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถจำแนกตามลักษณะของการเชื่อมต่อดังต่อไปนี้

1. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบบัส (bus topology)
โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบบัส จะประกอบด้วย สายส่งข้อมูลหลัก ที่ใช้ส่งข้อมูลภายในเครือข่าย เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง จะเชื่อมต่อเข้ากับสายข้อมูลผ่านจุดเชื่อมต่อ เมื่อมีการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องพร้อมกัน จะมีสัญญาณข้อมูลส่งไปบนสายเคเบิ้ล และมีการแบ่งเวลาการใช้สายเคเบิ้ลแต่ละเครื่อง ข้อดีของการเชื่อมต่อแบบบัส คือ ใช้สื่อนำข้อมูลน้อย ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่าย และถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเสียก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบโดยรวม แต่มีข้อเสียคือ การตรวจจุดที่มีปัญหา กระทำได้ค่อนข้างยาก และถ้ามีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมากเกินไป จะมีการส่งข้อมูลชนกันมากจนเป็นปัญหา


2. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบวงแหวน (ring topology)
โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบวงแหวน มีการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์โดยที่แต่ละการเชื่อมต่อจะมีลักษณะเป็นวงกลม การส่งข้อมูลภายในเครือข่ายนี้ก็จะเป็นวงกลมด้วยเช่นกัน ทิศทางการส่งข้อมูลจะเป็นทิศทางเดียวกันเสมอ จากเครื่องหนึ่งจนถึงปลายทาง ในกรณีที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งขัดข้อง การส่งข้อมูลภายในเครือข่ายชนิดนี้จะไม่สามารถทำงานต่อไปได้ ข้อดีของโครงสร้าง เครือข่ายแบบวงแหวนคือ ใช้สายเคเบิ้ลน้อย และถ้าตัดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เสียออกจากระบบ ก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบเครือข่ายนี้ และจะไม่มีการชนกันของข้อมูลที่แต่ละเครื่องส่ง

3. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว (star topology)
โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว ภายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะต้องมีจุกศูนย์กลางในการควบคุมการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ หรือ ฮับ (hub) การสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ จะสื่อสารผ่านฮับก่อนที่จะส่งข้อมูลไปสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แบบดาวมีข้อดี คือ ถ้าต้องการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ก็สามารถทำได้ง่ายและไม่กระทบต่อเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในระบบ ส่วนข้อเสีย คือ ค่าใช้จ่ายในการใช้สายเคเบิ้ลจะค่อนข้างสูง และเมื่อฮับไม่ทำงาน การสื่อสารของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบก็จะหยุดตามไปด้วย                                                                                                                                                                                          

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network)

ความหมายของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
          ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) หมายถึงการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน โดยอาศัยช่องทางการสื่อสารข้อมูล เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ และการใช้ทรัพยากรของระบบร่วมกัน (Shared Resource) ในเครือข่ายนั้น                
  
          ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีองค์ประกอบที่สำคัญ เพื่อการเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ได้แก่ คอมพิวเตอร์แม่ข่าย (File Server) ช่องทางการสื่อสาร (Communication Chanel) สถานีงาน (Workstation or Terminal) และ อุปกรณ์ในเครือข่าย (Network Operation System)

1. คอมพิวเตอร์แม่ข่าย (File Server) หมายถึงคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการทรัพยากร (Resources) ต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ หน่วยประมวลผล หน่วยความจำ หน่วยความจำสำรอง ฐานข้อมูล และ โปรแกรมต่าง ๆ เป็นต้น ในระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) มักเรียกว่าคอมพิวเตอร์แม่ข่าย ในระบบเครือข่ายระยะไกล ที่ใช้เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ หรือ มินิคอมพิวเตอร์เป็นศูนย์กลางของเครือข่าย เรานิยมเรียกว่า  Host Computer และเรียกเครื่องที่รอรับบริการว่าลูกข่ายหรือสถานีงาน

2. ช่องทางการสื่อสาร (Communication Chanel) หมายถึง สื่อกลางหรือเส้นทางที่ใช้เป็นทางผ่าน ในการรับส่งข้อมูล ระหว่างผู้รับ (Receiver) และผู้ส่งข้อมูล (Transmitter) ปัจจุบันมีช่องทางการสื่อสาร สำหรับการเชื่อมต่อเครือข่าย คอมพิวเตอร์มีหลายประเภทคือ สายโทรศัพท์แบบสายคู่ตีเกลียวไม่มีฉนวนหุ้ม (UTP) สายคู่ตีเกลียว แบบมีฉนวนหุ้ม (STP) สายโคแอคเชียล สายใยแก้วนำแสง คลื่นไมโครเวป และดาวเทียม เป็นต้น

3. สถานีงาน (Workstation or Terminal) หมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อ กับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่เป็นสถานีปลายทางหรือสถานีงาน ที่ได้รับการบริการจากเครื่อง คอมพิวเตอร์แม่ข่าย เรียกว่าเป็นคอมพิวเตอร์ลูกข่าย (Workstation) ในระบบเครือข่ายระยะใกล้ มักมีหน่วยประมวลผล หรือซีพียูของตนเอง ในระบบที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรม เป็นศูนย์กลาง เรียกสถานีปลายทางว่าเทอร์มินอล (Terminal)ประกอบด้วยจอภาพและแป้นพิมพ์เท่านั้น ไม่มีหน่วยประมวลกลางของตัวเอง ต้องใช้หน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางหรือ Host

4. อุปกรณ์ในเครือข่าย (Network Operation System) 
   - การ์ดเชื่อมต่อเครือข่าย (Network Interface Card :NIC) หมายถึง แผงวงจรสำหรับ ใช้ในการเชื่อมต่อสายสัญญาณของเครือข่าย ติดตั้งไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องแม่ข่าย และเครื่องที่เป็นลูกข่าย หน้าที่ของการ์ดนี้คือแปลงสัญญาณจากคอมพิวเตอร์ส่งผ่านไปตามสายสัญญาณ ทำให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้

 - โมเด็ม ( Modem : Modulator Demodulator) หมายถึง อุปกรณ์สำหรับการแปลงสัญญาณดิจิตอล (Digital) จากคอมพิวเตอร์ด้านผู้ส่ง เพื่อส่งไปตามสายสัญญาณข้อมูลแบบอนาลอก(Analog) เมื่อถึงคอมพิวเตอร์ด้านผู้รับ โมเด็มก็จะทำหน้าที่แปลงสัญญาณอนาลอก ให้เป็นดิจิตอลนำเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อทำการประมวลผล โดยปกติจะใช้โมเด็มกับระบบเครือข่ายระยะไกล โดยการใชสายโทรศัพท์เป็นสื่อกลาง เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

 - ฮับ ( Hub) คือ อุปกรณ์เชื่อมต่อที่ใช้เป็นจุดรวม และ แยกสายสัญญาณ เพื่อให้เกิดความสะดวก ในการเชื่อมต่อของเครือข่ายแบบดาว (Star) โดยปกติใช้เป็นจุดรวมการเชื่อมต่อสายสัญญาณระหว่าง File Server กับWorkstation ต่าง ๆ 

การส่งสัญญาณข้อมูล (Transmission Definition)

การส่งสัญญาณข้อมูล (Transmission Definition)
          การส่งสัญญาณข้อมูล หมายถึง การส่งข้อมูลหรือข่าวสารต่างๆจากอุปกรณ์สำหรับส่งหรือผู้ส่ง ผ่านทางตัวกลางหรือสื่อกลาง ไปยังอุปกรณ์รับหรือผู้รับข้อมูลหรือข่าว ซึ่งข้อมูลหรือข่าวสารที่ส่งไปอาจจะอยู่ในรูปของสัญญาณเสียง  คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือแสงก็ได้ โดยที่สื่อกลางหรือตัวกลางของสัญญาณนั้นแบ่งเป็น 2 ชนิด คือชนิดที่สามารถกำหนดเส้นทางสัญญาณได้ เช่น สายเกลียวคู่ (Twisted paire) สายโทรศัพท์ สายโอแอกเชียล (Coaxial) สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) ส่วนตัวกลางอีกชนิดหนึ่งนั้นไม่สามารถกำหนดเส้นทางของสัญญาณได้ เช่น สุญญากาศ น้ำ และ ชั้นบรรยากาศ เป็นต้น

แบบของการส่งสัญญาณข้อมูล
          การส่งสัญญาณข้อมูล สามารถแบ่งได้เป็น 3 รูปแบบดังนี้

1. การส่งสัญญาณทางเดียว (One-Way Transmission หรือ Simplex)
          การส่งสัญญาณแบบนี้ในเวลาเดียวกันจะส่งได้เพียงทางเดียวเท่านั้น ถึงแม้ว่าตัวส่งจะมีสัญญาณช่องทางก็ตาม ซึ่งมักจะเรียกการส่งสัญญาณทางเดียวนี้ว่า ซิมเพล็กซ์ ผู้ส่งสัญญาณจะส่งได้ทางเดียว โดยที่ผู้รับจะไม่สามารถโต้ตอบได้ เช่น การส่งวิทยุกระจายเสียง การแพร่ภาพโทรทัศน์

2. การส่งสัญญาณกึ่งทางคู่ (Half-Duplex หรือ Either-Way)
          การส่งสัญญาณแบบนี้เมื่อผู้ส่งได้ทำการส่งสัญญาณไปแล้ว ผู้รับก็จะรับสัญญาณนั้นหลังจากนั้นผู้รับก็สามารถปรับมาเป็นผู้ส่งสัญญาณแทน ส่วนผู้ส่งเดิมก็ปรับมาเป็นผู้รับแทนสลับกันได้ แต่ไม่สามารถส่งสัญญาณพร้อมกันในเวลาเดียวกันได้ จึงเรียกการส่งสัญญาณแบบนี้ว่า ฮาร์ฟดูเพล็กซ์ (Half Duplex หรือ HD) ได้แก่ วิทยุสนามที่ตำรวจใช้ เป็นต้น

3. การส่งสัญญาณทางคู่ (Full-Duplex หรือ Both way Transmission)                                                การส่งสัญญาณแบบนี้สามารถส่งข้อมูลได้พร้อมกันทั้งสองทางในเวลาเดียวกัน เช่น การใช้โทรศัพท์ ผู้ใช้สามารถพูดสายโทรศัพท์ได้พร้อม ๆ กัน

ระบบการสื่อสารข้อมูล

ความหมายของระบบสื่อสารข้อมูล
          การสื่อสารข้อมูล หมายถึง การโอนถ่าย (Transmission) ข้อมูลหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างต้นทางกับปลายทาง โดยใช้อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีตัวกลาง เช่น ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์สำหรับควบคุมการส่งและการไหลของข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง นอกจากนี้อาจจะมีผู้รับผิดชอบในการกำหนดกฎเกณฑ์ในการส่งหรือรับข้อมูลตามรูปแบบที่ต้องการ

องค์ประกอบพื้นฐานของระบบสื่อสารข้อมูล
          การสื่อสารข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์นั้น จะทำได้ก็ต่อเมื่อมีองค์ประกอบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender)  ข้อมูลต่างๆ ที่อยู่ต้นทางจะต้องจัดเตรียมนำเข้าสู่อุปกรณ์สำหรับส่งข้อมูล ซึ่งได้แก่เครื่องพิมพ์ หรืออุปกรณ์ควบคุมต่าง ๆ จานไมโครเวฟ จานดาวเทียม ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นถูกเปลี่ยนให้อยู่ใน รูปแบบที่สามารถส่งข้อมูลนั้นได้ก่อน

2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver)  ข้อมูลที่ถูกส่งจากอุปกรณ์ส่งข้อมูลต้นทาง เมื่อไปถึงปลายทางก็จะมีอุปกรณ์สำหรับ รับข้อมูลเหล่านั้นเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป อุปกรณ์เหล่านี้ได้แก่ เครื่องพิมพ์ คอมพิวเตอร์ จานไมโครเวฟ จานดาวเทียม ฯลฯ

3. โปรโตคอล  (Protocol) คือ กฎระเบียบ หรือวิธีการใช้เป็นข้อกำหนดสำหรับการสื่อสาร เพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งเข้าใจกันได้ ซึ่งมีหลายชนิดให้เลือกใช้ เช่น TCP/IP, X.25, SDLC  เป็นต้น

4. ซอฟต์แวร์ (Software)  การส่งข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีโปรแกรมสำหรับดำเนินการ และควบคุมการส่งข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลตามที่กำหนดไว้ ได้แก่ Novell’s Netware, UNIX, Windows NT, Windows 2003 ฯลฯ

5. ข่าวสาร (Message)  เป็นรายละเอียดซึ่งอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ ที่จะส่งผ่านระบบการสื่อสาร ซึ่งมีหลายรูปแบบดังนี้                                                                                                                                             5.1  ข้อมูล (Data)  เป็นรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ ซึ่งถูกสร้างและจัดเก็บด้วยคอมพิวเตอร์ มีรูปแบบแน่นอน เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า เป็นต้น ข้อมูลสามารถนับจำนวนได้และส่งผ่านระบบสื่อสารได้เร็ว        5.2  ข้อความ (Text)  อยู่ในรูปของเอกสารหรือตัวอักขระ ไม่มีรูปแบบที่แน่นอน ชัดเจนนับจำนวนได้ค่อนข้างยาก และมีความสามารถในการส่งปานกลาง                                                                                          5.3รูปภาพ (Image)  เป็นข่าวสารที่อยู่ในรูปของภาพกราฟิกแบบต่าง ๆ ได้แก่ รูปภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพวีดีโอ ซึ่งข้อมูลชนิดนี้จะต้องอาศัยสื่อสำหรับเก็บ และใช้หน่วยความจำเป็นจำนวนมาก                                   5.4  เสียง (Voice)  อยู่ในรูปของเสียงพูด เสียงดนตรี หรือเสียงอื่น ๆ ข้อมูลชนิดนี้จะกระจัดกระจาย ไม่สามารถวัดขนาดที่แน่นอนได้ การส่งจะทำได้ด้วยความเร็ว ค่อนข้างต่ำ


6. ตัวกลาง (Medium)  เป็นตัวกลางหรือสื่อกลางที่ทำหน้าที่นำข่าวสารในรูปแบบต่าง ๆ จากผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งต้นทางไปยังผู้รับ หรืออุปกรณ์รับปลายทาง ซึ่งมีหลายรูปแบบได้แก่ สายไป ขดลวด สายเคเบิล สายไฟเบอร์ออฟติก ตัวกลางอาจจะอยู่ในรูปของคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น คลื่นไมโครเวฟ คลื่นดาวเทียม หรือคลื่นวิทยุ เป็นต้น